วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โอ้ว!!! กรุงเทพฯ ติด 10 อันดับ เสี่ยงต่อหายนะของภัยธรรมชาติ อีก 58 ปีข้างหน้า





       จากข่าวนี้จึงเป็นที่มาของ Entry นี้ ผมจึงนำเนื้อหาบางส่วนที่เป็นสาระสำคัญมาให้เพื่อนๆ ทุกคนได้อ่านกัน และเป็นบันทึกความทรงจำเกี่ยวกับข่าวนี้ด้วย เพราะกว่าจะเกิดจริงๆ ตามข่าวนี้ก็ประมาณอีก 58 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2561) โน้นเลยครับ... ไม่รู้ว่าผุ้อ่านและตัวผมเองจะอายุยืนอยู่ถึงกันไหม? 

        หลังจากผ่านน้ำท่วมใหญ่เมื่อปีที่แล้วกรุงเทพฯ และหลายพื้นที่ที่เคยประสบภัยมีการเตรียมรับมือกับภัยธรรมชาติอย่างรัดกุมขึ้น แต่ดูเหมือนว่าอาจยังไม่เพียงพอ เพราะล่าสุดจากรายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เปิดเผยว่า สภาพอากาศของโลกที่กำลังปั่นปวนอย่างรุนแรงจะทำให้มหานครชายฝั่งที่สำคัญของโลกต้องประสบกับหายนะ จากปรากฎการณ์สตอร์มเซิร์จ แผ่นดินยุบ พายุถล่ม น้ำทะเลกลืนแผ่นดิน และวิกฤตน้ำท่วมครั้งใหญ่   


องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)

 จากการสำรวจเมืองท่าชายฝั่งทะเล 136 เมืองทั่วโลก โดย OECD พบว่า มีมหานครสำคัญของโลกถึง20 เมืองที่เสี่ยงจะจมบาดาลภายในปี 2070 (พ.ศ. 2613) หรืออีก 58 ปีข้างหน้า เนื่องจากสภาพอากาศของโลกปั่นป่วนอย่างหนัก สร้างความเสียหายเป็นตัวเงินรวมกันถึงกว่า 26.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 846.8 ล้านล้านบาท และกระทบต่อประชากรของโลกอย่างน้อย 40 ล้านคน ทั้งนี้ ในจำนวนเมืองท่า 20 เมืองที่จะประสบกับหายนะจากความผันผวนของสภาพอากาศโลก และเมืองท่าชายฝั่งที่มีความเสี่ยงมากที่สุดเป็นอันดับที่ 10 คือ กรุงเทพหมหานคร นั้นเอง!!!
ลองมาดู 10 อันดับที่ถูกจัดโดย OECD 

ไมอามี่

อันดับ นครไมอามี ประเทศสหรัฐอเมริกา – เป็นเมืองที่มีความเสี่ยงที่สุดในโลก อาจจมอยู่ใต้น้ำทะเลลึก 150 ฟุต จะมีประชากรเสี่ยงถึง 4.8 ล้านคน 

กว่างโจว

อันดับ นครกว่างโจว ประเทศจีน – ในอีก 58 ปี ข้างหน้า ประชากรกว่า 10.3 ล้านคนเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่ออุทกภัยและน้ำทะเลหนุนสูง

นิวยอร์ก

อับดับ นิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา – หากเกิดภัยธรรมชาติร้ายแรงจะส่งผลกระทบต่อประชากร 2.9 ล้านคน

กัลกัตตา

อันดับ กัลกัตตา ประเทศอินเดีย – ประชากรกว่า 14 ล้านคนของเมืองนี้มีโอกาสเสี่ยงทนทุกข์จากน้ำท่วมใหญ่ ในปัจจุบันกัลกัตตามีระบบระบายน้ำที่ทรุดโทรมไม่เคยเปลี่ยนกว่า 140 ปี

เซี่ยงไฮ้

อับดับ เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน – เริ่มทรุดตัวลงจากการสร้างตึกสูงมากเกินไป ทั้งยังอยู่ปากแม่น้ำแยงซีที่เกิดน้ำท่วมประจำ คาดว่าจะเกิดความสูญเสียกับประชากรถึง 5.5 ล้านคน

มุมไบ

อันดับ มุมไบ ประเทศอินเดีย – ศูนย์กลางเศรษฐกิจของอินเดีย สูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 46ฟุต มีระบบระบายน้ำที่ล้าสมัย หากเกิดหายนะในอนาคตจะส่งผลต่อประชากรถึง 11.4 ล้านคน

เทียนจิน

อันดับ เทียนจิน ประเทศจีน – เทียนจินไม่เคยเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ตั้งแต่ปี 1963 แต่คาดว่าในปี2070 อาจจะส่งผลต่อชีวิตผู้คนกว่า 3.8 ล้านคน 

โตเกียว

อันดับ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น – มีระบบป้องกันน้ำท่วมใหญ่ในรอบสหัสวรรษได้ดีกว่าเมืองใหญ่อื่นๆ ทั่วโลก แต่หากเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรง อาจจะกระทบต่อประชากรกว่า 2.5 ล้านคน

ฮ่องกง

อันดับ ฮ่องกง ประเทศจีน – ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ล้อมรอบด้วยทะเล ทำให้มีความเสี่ยงในอันดับต้นๆ ประเมินกันว่าจะส่งผลกระทบกับประชากรเพียงแค่ 6.8 แสนคน 

กรุงเทพมหานคร

อันดับ 10 กรุงเทพฯ ประเทศไทย – ติดท๊อป 10 มหานครแห่งความเสี่ยงหลังจากประสบกับน้ำท่วมใหญ่ปีที่แล้วและภายในปี 2070 หากสภาพอากาศโลกยังแปรปรวน ชาวกรุงกว่า 5.1 ล้านคนจะได้รับความเดือดร้อนอย่างแน่อนน....


แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์ M2F ฉบับวันที่ 12 ก.ค. 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น