1. ประเภทของเครื่องปรับอากาศ
|
1. แบบเคลื่อนที่ (Portable) BTU 6000-15000
2. แบบติดผนัง (Wall Type) BTU 9000-36000
3. แบบตั้งพื้น/แขวนใต้ฝ้า (Floor&Ceiling Type) BTU 12000-60000
4. แบบสี่ทิศทาง (Cassette Type) BTU 12000-60000
5. แบบเปลือยฝังในฝ้า (Duct Type) BTU 12000-60000
6. แบบตู้ตั้ง (Floor Standard) BTU 25000-60000
|
2. การเลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับพื้นที่
|
ตารางการเลือกเครื่องปรับอากาศ
BTU คือ ขนาดความสามารถในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ (British Thermal Unit มีหน่วยดังนี้ ความเย็น = 12,000 BTU/ชั่วโมง)
|
3. ค่าใช้จ่ายพลังงาน ในการใช้งาน
|
เครื่องปรับอากาศเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าพลังงานมาก และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นเราจึงควรทำความเข้าใจกับเรื่องของค่าใช้จ่ายพลังงาน เพื่อนำไปใช้พิจารณาประกอบการเลือกซื้อให้ตรงตามความจำเป็นในการใช้งานจริงๆ |
4. ควรมีระบบฟิลเตอร์และกรองอากาศ
|
ชนิดการกรอง
|
คุณสมบัติ
|
อายุการใช้งาน
|
การทำความสะอาด
|
กรองหยาบ
|
กรองฝุ่นขนาดกลางถึงรูปร่างขนาดใหญ่, ครอบคลุมทั่วแผงคอยล์เย็น วัสดุส่วนใหญ่ทำจากพลาสติก
|
ตลอดอายุการใช้งาน
|
ล้างน้ำได้
|
กรองละเอียด
|
กรองฝุ่นขนาดเล็ก บางยี่ห้อสามารถที่จะดักจับเชื้อแบคทีเรีย หรือสารก่อภูมิแพ้ได้
|
ประมาณ 3-6 เดือน
|
ไม่สามารถล้างน้ำได้
|
กรองกลิ่น
|
ส่วนใหญ่จะทำมาจากคาร์บอน หรือผงถ่าน จึงสามารถกรองกลิ่นได้ ในบางยี่ห้อสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราได้
|
ประมาณ 3-6 เดือน
|
ไม่สามารถล้างน้ำได้
|
กรองแบบไฟฟ้าสถิตย์
|
อาศัยอำนาจไฟฟ้าสถิตย์ ทำการดึงดูดและกำจัดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราได้
|
ตลอดอายุการใช้งาน
|
ไม่สามารถล้างน้ำได้
|
** เครื่องฟอกอากาศที่มีระบบฟอกอากาศแบบไฟฟ้าสถิตย์ จะยังคงมีแผ่นกรองอากาศแบบหยาบอยู่ เพื่อเป็นการกรองฝุ่นขนาดใหญ่ก่อนที่จะผ่านระบบไฟฟ้าสถิตย์
|
|
ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เพื่อรับรองว่าเป็นเครื่องปรับอากาศที่มีค่าประสิทธิภาพทำความเย็น ตามที่กำหนดไว้คือ 11.0 หรือมากกว่า โดยได้รับการรับรองจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)
ฉลาก มอก. ฉลากรับรองคุณภาพจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยจะมีฉลากรับรอง 2 ตัว ได้แก่
มอก. 1155 (มาตรฐานทั่วไป) มอก. 2134 (ประหยัดพลังงาน)
ฉลาก ภาษีสรรพสามิต คือฉลากที่ติดรับรองว่า ได้ผ่านการเสียภาษีในส่วนอุปกรณ์ระบายความร้อนแล้ว ดังนั้นจึงมั่นใจว่า เป็นสินค้าที่ส่งตรงจากโรงงานผู้ผลิต |
|
มีอยู่ 2 ระบบ คือ แบบธรรมดา และแบบ INVERTER
ระบบอินเวอร์เตอร์ คือ ระบบที่นำเอาความรู้ทางด้านอิเลคทรอนิกส์ที่ควบคุมการทำงานด้วยคำสั่ง จากไมโครคอมพิวเตอร์ที่สั่งงานโดยตรงจากรีโมทคอนโทรน และนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้ควบคุมการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงาน ปรับอุณหภูมิ ควบคุมความชื้น ควบคุมความเย็น ให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติ โดยใช้คำสั่งจากโมโครคอมพิวเตอร์
ระบบอินเวอร์เตอร์ทำงานอย่างไร ในการทำงานของระบบ หลังจากที่เดินระบบให้แอร์คอนดิชั่นเนอร์ทำงานแล้ว ไมโครคอมพิวเตอร์ก็จะทำการตรวจสอบอุณหภูมิโดนทันที แล้วเลือกการทำงานเองว่าจะทำงานอย่างไรโดยการประมวลผลคำสั่งจากที่เราสั่งการทำงานให้แอร์คอนจากรีโมทคอนโทรน ทำการตรวจสอบ และเลือกการทำงานเองว่าจะทำอย่างไร จะทำความเย็น จะไล่ระบบความชื้นในห้อง หรือ ฯลฯ ได้โดยอัตโนมัติ โดยขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละยี่ห้อนั้นๆว่ามีเซนเซอร์ใช้ตรวจสอบการทำงานอะไรบ้าง
ประหยัดไฟได้อย่างไร เพราะว่าผลจากการทำงานของระบบอินเวอร์เตอร์ มีผลต่อการควบคุมอุณหภูมิโดยตรงภายในห้องต่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ ทำให้ไมโครคอมสั่งการเปลี่ยนความถี่ของไฟฟ้าที่ป้อนให้กับมอเตอร์คอมเพรสเซอร์อยู่ตลอดเวลา มีผลทำให้ความเร็วรอบของมอเตอร์ลดลง ส่งผลให้ปริมาตรการดูดน้ำยาลดลง การกินไฟของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้เราสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ แม่ว่ามอเตอร์จะทำงานอยู่ก็ตามแต่ก็เป็นการทำงานตามคำสั่งของไมโครคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมความถี่ของไฟฟ้าเท่านั้น
ต่างกับระบบเดิมตรงไหน นอกจากการทำงานจะสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้แล้วดังที่กล่าวข้างต้นแม้ว่า การทำงานของคอมเพรสเซอร์จะทำงานอยู่ตลอดเวลาด้วยความเร็วรอบที่ช้าลงอันเป็นผลจากการควบคุมความถี่ไฟฟ้าจากการทำงานโดยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ชึ่งเป็นผลจากการประมวลผลของไมโครคอมพิวเตอร์ และก็ธรรมดาที่อุปกรณ์ภายในตัวคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้ย่อมแตกต่างจากคอมแบบเดิมไปบ้างด้วยหลักการดังกล่าว โดยที่ระบบเดิมใช้การควบคุมการทำงานโดยการควบคุมแบบเทอร์โมสตั๊ด ควบคุมการทำงานของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ และทำงานด้วยความถี่ไฟฟ้าเดียวตลอด ทำให้การกินกระแสไฟฟ้ามากตามไปด้วย ซึ่งแตกต่างจากระบบอินเวอร์เตอร์ที่มีการกินของกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตามความถี่ของไฟฟ้า โดยการควบคุมการทำงานของไมโครคอมพิวส์เตอร์ที่ใช้ในการควบคุมความถี่ไฟฟ้า และสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้ ด้วยหลักการทำงานดังกล่าว
|
7. การเลือกสถานที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
|
เมื่อเลือกตำแหน่งและสถานที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมแล้ว ให้ปฏิบัติตามคำชี้แจงต่อไปนี้
หลักทั่วไป
ไม่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศในที่ที่อาจเชื่อมต่อกับสารเคมีดังต่อไปนี้
o ก๊าซไวไฟ o โซลีน o น้ำมันเครื่อง o ก๊าซซัลไฟด์ o สภาวะแวดล้อมไม่ปกติ
ชุดปรับอากาศ (Free coil unit)
· ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางอยู่ใกล้ทางอากาศเข้าและออก · ติดตั้งตัวเครื่องภายในบนพื้นที่สามารถรับน้ำหนักได้ · เลือกตำแหน่งที่สามารถส่งผ่านท่อและสายไฟเพื่อง่ายต่อการเชื่อมของชุดระบายความร้อน โดยระยะทางที่เหมาะสมประมาณ 5 เมตร · เว้นระยะห่างพอสมควรที่ตัวเครื่องภายในจะสามารถถอดแผ่นกรองออกได้โดยปราศจากสิ่งกีดขวาง · เว้นระยะห่างที่เหมาะสมของตัวเครื่องภายในไว้ตามคำชี้แจง · ตรวจสอบการไหลของน้ำจากท่อระบายน้ำให้ไหลออกได้สะดวก
ชุดระบายความร้อน (Condensing Unit)
· ต้องไม่ติดตั้งชุดระบายความร้อนกลับด้าน เพราะน้ำมันเครื่องของเครื่องสูบอาจจะไหลสู่วงจรไฟฟ้าทำความเย็นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่เครื่อง · เลือกที่ตั้งที่แห้งและสว่างไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรงหรือลมแรงๆ · ไม่กีดขวางทางเดินหรือการทำกิจกรรมต่างๆ · เลือกที่ตั้งเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้เสียงเครื่องปรับอากาศรบกวนเพื่อนบ้าน · ติดตั้งชุดระบายความร้อนไว้ที่ผิวเรียบเสมอกัน และแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของเครื่องและไม่ก่อให้เกิดเสียงและการสั่นสะเทือน · ตำแหน่งของชุดระบายความร้อนต้องหันให้ทิศทางการไหลของอากาศตรงไปทางข้างนอก โดยดูจากลูกศรบนตัวเครื่อง · หากติดตั้งชุดระบายความร้อนในที่สูงให้ตรวจสอบที่ตั้งให้มั่นคงก่อน · ตรวจสอบว่าการไหลของน้ำจากท่อระบบน้ำ ไหลออกได้สะดวก
|
|
· ตั้งอุณหภูมิห้องให้เหมาะสม ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไปจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ และสิ้นเปลืองไฟฟ้า· ทำความสะอาดแผงกรองอากาศบ่อยๆ ถ้าแผ่นกรองอากาศอุดตัน ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจะลดลง ทำให้เปลืองค่าไฟฟ้า· หลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์และลมโดยตรง ระหว่างการทำความเย็น ให้ปิดม่านหรือมู่ลี่กันแสงอาทิตย์ ปิดหน้าต่างและประตูให้สนิท เว้นแต่เวลาระบายอากาศ · ปรับทิศทางการไหลเวียนของอากาศให้ถูกต้อง ปรับทิศทางการไหลเวียนของอากาศขึ้น/ลง หรือ ซ้าย/ขวา เพื่อให้อุณหภูมิเท่ากันทุกห้อง · เปิดเครื่องปรับอากาศเมื่อจำเป็นเท่านั้น ควรใช้ปุ่มตั้งเวลาเพื่อให้เครื่องทำงานเฉพาะเมื่อจำเป็น · ทำให้เกิดความร้อนน้อยที่สุด ขณะที่เครื่องปรับอากาศทำงานพยายามหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดความร้อนภายในห้อง
|
|
ก่อนการบำรุงรักษา
· ปิดสวิทซ์ก่อน · อย่าใช้น้ำเช็ด เพราะอันตรายอาจทำให้ไฟดูด, เช็ดเครื่องปรับอากาศด้วยผ่นุ่มและแห้ง · อย่าใช้สิ่งต่อไปนี้
o น้ำร้อน เพราะจะทำให้สภาพหรือสีของเครื่องเปลี่ยนไป o น้ำมันเบนซิน, ทินเนอร์, สารเบนซินหรือน้ำยาขัดเงา จะทำให้เครื่องเปลี่ยนสภาพ และเกิดรอยขีดข่วน
ระหว่างฤดูกาลใช้งานปกติ
การทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ ควรทำความสะอาดทุกสองสัปดาห์เป็นมาตรฐาน
1. ถอดแผ่นกรองอากาศ
o เปิดตะแกรงดูดอากาศขึ้นประมาณ 60 องศา o จับปุ่มที่แผ่นกรองอากาศ และยกขึ้นเล็กน้อยเพื่อดึงออก
2. ทำความสะอาด ถ้าแผ่นกรองสกปรกมากให้ล้างด้วยน้ำอุ่น แล้วทำให้แห้งสนิท
ระวัง o อย่าล้างแผ่นกรองด้วยน้ำเดือด o อย่าทำให้แห้งด้วยการอิงไฟ o ดึงแผ่นกรองเบาๆ
3. ใส่แผ่นกรองอากาศเข้าไปใหม่
o จับแผ่นกรองอากาศให้แน่นทั้งสองข้าง และใส่กลับเข้าไปให้แน่นหนา o ถ้าเครื่องปรับอากาศทำงานทำงานโดยไม่มีแผ่นกรองอากาศ จะทำให้เครื่องมีฝุ่นสกปรก และเกิดความเสียหาย
การทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ
1. เช็ดเครื่องด้วยผ้านุ่ม ที่แห้งหรือใช้เครื่องดูดฝุ่น 2. ถ้าเครื่องสกปรกมาก ให้เช็ดด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น
ระวัง ประสิทธิภาพการทำความเย็น/ความร้อน อาจได้รับผลเนื่องจากแผ่นกรองอากาศสกปรก และยังทำให้เกิดความเสียงดังมากขึ้น อีกทั้งสิ้นเปลืองไฟฟ้า จึงควรทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศตามระยะเวลาที่เหมาะสม ทุก 3-6 เดือน |
10. ความรู้เรื่องวิธีประหยัดไฟ
|
1. การปรับห้องให้ถูกทิศทาง ควรคำนึงถึงการเปิดรับแสงทางทิศเหนือ และกันแสงแดดด้านทิศตะวันตกและทางทิศใต้
2. การปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้บ้านร่มเย็น การปลูกต้นไม้ใหญ่ทางด้านทิศตะวันตกและต้นไม้รอบๆบ้าน เพื่อให้ผนังหลังคาช่องแสงถูกแดดน้อยที่สุด (ต้นไม้ใหญ่ 1 ต้น เทียบได้กับเครื่องปรับอากาศ 1 ตัน)
3. ให้บ้านได้รับแสงธรรมชาติ ยอมให้ลมพัดผ่าน ควรมีหน้าต่างและติดตั้งช่องแสงให้บ้านได้รับแสงธรรมชาติในทิศทางที่ดี และไม่ควรมีแสงแดดเข้ามาในบ้าน เช่น ทิศเหนือ
4. ควรติดตั้งฉนวนป้องกันความร้อน ใต้หลังคาบ้านหรือจุดที่ได้รับแสง เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนเข้ามาในบ้าน
5. ปรับที่และไม่สร้างแหล่งความร้อน ปรับพื้นที่การใช้สอยของตัวเราให้สอดคล้องกับตัวเรา หาทิศทางลมธรรมชาติ
· ลมหน้าร้อน พัดมาจากทิศใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้
· ลมหน้าหนาว พัดมาจากทิศเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
(ข้อมูลจาก คู่มือการขายเครื่องปรับอากาศ ปี 2550 : ชมรมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศ)
แหล่งที่มช้อมูล : http://www.mhomeair.com/contentview.php?contentID=4 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น