Spatial
distribution=การกระจายเชิงพื้นที่
-เป็นการกระจัดกระจายตัวหรือการกระจุกตัวที่อยู่ในพื้นที่
จะอยู่ในลักษณะที่กระจุกตัวบางพื้นที่หรือแยกกระจายอาจจะอยู่ใกล้กันหรือไกลกันขึ้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ต่างๆ เช่น การกระจายตัวของประชากร การใช้ภาษาในแต่ละพื้นที่
การกระจายตัวของโรคระบาด
Spatial difussion =
การแพร่กระจายเชิงพื้นที่
การแพร่กระจายเชิงพื้นที่เป็นการแพร่กระจายจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่หนึ่ง
เช่น การแพร่กระจายของนวัตกรรมต่างๆ การแพร่กระจายของโรคระบาดต่างๆ
การแพร่กระจายของนกที่อพยพ
Spatial interaction =
การปฎิสัมพันธ์เชิงพื้นที่
-
พื้นที่ที่ทำกิจกรรมจะสัมพันธ์กับพื้นที่อื่นและพื้นที่นั้นๆ
ในแต่ละส่วนของกิจรรมจะแยกออกตามเขตพื้นที่ของตัวเองในพื้นที่แต่ละส่วน หรือการปฏิสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์ เช่น
การเกิดดินถล่ม เมื่อฝนตกหนัก น้ำจะซึมลงไป
ในดินอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ดินอุ้มน้ำจนอิ่มตัว
แรงยึดเกาะระหว่างมวลดินจะลดลง
-
ระดับน้ำใต้ผิวดินสูงขึ้นจะทำให้แรงต้านทานการเลื่อนไหลของดินลดลง
- เมื่อน้ำใต้ผิวดินมีระดับสูงก็จะไหลภายในช่องว่างของดิน
ลงมาตามความชันของลาดเขา
- เมื่อมีการเปลี่ยนความชัน
ก็จะเกิดเป็นน้ำผุดและเป็นจุดแรกที่มีการเลื่อนไหลของดิน
- เมื่อเกิดดินเลื่อนไหลแล้ว ก็จะเกิดต่อเนื่องขึ้นไปตามลาดเขา
Spatial temporal =
ช่วงเวลาในเชิงพื้นที่
-
ช่วงเวลาในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไปในช่วงของการแบ่งเขตเวลา
การกระทำหรือกิจกรรมก็จะต่างกันออกไป เช่น
การเคลื่อนที่ของรถยนต์ในช่วงเวลาด่วน รวมทั้งกิจกรรมและพฤติกรรมการใช้ถนนในช่วงเวลาที่กำหนดภายในขอบเขตของ
พื้นที่ออกมาในรูปแบบจำลอง 3 มิติ
ซึ่งผลที่ได้สามารถนำมาอธิบายถึงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลากับ
รูปแบบการใช้เส้นทางจราจร
ที่สะท้อนให้เห็นถึงความหนาแน่นในช่องทางจราจรที่ใช้กันเป็นประจำ
Spatial differrentiation =
ความแตกต่างเชิงพื้นที่
-
ความแตกต่างเชิงพื้นที่เป็นความแตกต่างในหลายๆด้านทั้งที่อยู่อาศัย เช่น
ความแตกต่างด้านศาสนาและวัฒนธรรม ความแตกต่างทางสังคม
หรือแม้กระทั่งความหลากหลายทางชีวภาพ
Credit : momay-baboom.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น