CYCLONE Nagis
พายุหมุนเขตร้อน
พายุหมุนเขตร้อน เป็นคำทั่วๆไปที่ใช้เรียกพายุหมุนหรือพายุไซโคลน (Cyclone)
ที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ
บริเวณที่พายุหมุนปกคลุมแคบกว่าบริเวณพายุหมุนในเขตอบอุ่น
พายุดังกล่าวเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่
จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก
มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ใหญ่นักประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตร ขึ้นไป
เกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดรุนแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไป
โดยพัดเวียนเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา (Cyclonically) ในซีกโลกเหนือ
ส่วนทางซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางพายุ
ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลม และมีความเร็วสูงที่สุด
ลมที่ใกล้ศูนย์กลางมีความเร็วตั้งแต่ 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (64 นอต) ขึ้นไป
บางครั้งมีความเร็วลมเกินกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (175 นอต)
ความกดอากาศต่ำสุดที่บริเวณศูนย์กลางพายุ โดยทั่วไปต่ำกว่า 1,000 มิลลิบาร์
มีความชันของความกดอากาศ (Pressure Gradient)
และความเร็วลมแรงกว่าพายุหมุนนอกเขตร้อน (Extratropical Storm)
มีลักษณะอากาศร้ายติดตามมาด้วย เช่น
ฝนตกหนักมากกว่าฝนปกติธรรมดาที่เกิดในเขตร้อนมาก
บางครั้งมีพายุฟ้าคะนองเกิดขึ้นด้วย ฝนและเมฆมีลักษณะไม่เหมือนกันนักในพายุแต่ละลูก
ส่วนใหญ่จะเห็นเป็นแนวโค้งหมุนเข้าหาศูนย์กลางหรือตาพายุ มีเมฆประเภทคิวมูลัส
(Cumulus) และ คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ที่มีฝนอยู่ด้วย
เกิดคลื่นสูงใหญ่ในทะเล
ภาพกำเนิดขึ้นของพายุ
หย่อมความกดอากาศต่ำ หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง
พายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน
พายุไต้ฝุ่น หรือเฮอริเคน
แหล่งกำเนิดของพายุหมุนเขตร้อน
บริเวณที่มีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นเป็นประจำ
ได้แก่
มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก ทางตะวันตกของลองจิจูด 170 ํ ตะวันออก เมื่อมีกำลังแรงสูงสุดเรียกว่า "ไต้ฝุ่น" เกิดมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน และตุลาคม มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือแถวทะเลแคริบเบียนและอ่าวเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน" เกิดมากในเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม
- มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ฝั่งตะวันตกของประเทศเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน"
- บริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือ อ่าวเบงกอล เรียกว่า "ไซโคลน"
- บริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือ ทะเลอาระเบีย เรียกว่า "ไซโคลน"
- มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกของลองจิจูด 90 ํ ตะวันออก เรียกว่า "ไซโคลน"
- มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย เรียกว่า "วิลลี่ วิลลี่"
มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก ทางตะวันตกของลองจิจูด 170 ํ ตะวันออก เมื่อมีกำลังแรงสูงสุดเรียกว่า "ไต้ฝุ่น" เกิดมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน และตุลาคม มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือแถวทะเลแคริบเบียนและอ่าวเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน" เกิดมากในเดือนสิงหาคม กันยายน และตุลาคม
- มหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ฝั่งตะวันตกของประเทศเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน"
- บริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือ อ่าวเบงกอล เรียกว่า "ไซโคลน"
- บริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือ ทะเลอาระเบีย เรียกว่า "ไซโคลน"
- มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกของลองจิจูด 90 ํ ตะวันออก เรียกว่า "ไซโคลน"
- มหาสมุทรอินเดียใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย เรียกว่า "วิลลี่ วิลลี่"
พายุที่เกิดในส่วนต่างๆของโลก
พายุหมุนเขตร้อนเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่
จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก
มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป
และเกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไป
โดยพัดเวียนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางของพายุในซีกโลกเหนือ
ส่วนในซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกา
ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด
มาตรฐานการวัดความเร็วลมในพายุ
ความเร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความรุนแรงของพายุ ซึ่งในย่านมหาสมุทรแปซิ-ฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้มีการแบ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศดังนี้
ความเร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความรุนแรงของพายุ ซึ่งในย่านมหาสมุทรแปซิ-ฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้มีการแบ่งตามข้อตกลงระหว่างประเทศดังนี้
- พายุดีเปรสชั่น ความเร็วลมไม่เกิน 33 นอต (61 กม./ชม.)
- พายุโซนร้อน ความเร็วลม 34 - 63 นอต (62 - 117 กม./ชม.)
- ไต้ฝุ่น ความเร็วลม 64 นอตขึ้นไป (118 กม./ชม.ขึ้นไป)
- พายุโซนร้อน ความเร็วลม 34 - 63 นอต (62 - 117 กม./ชม.)
- ไต้ฝุ่น ความเร็วลม 64 นอตขึ้นไป (118 กม./ชม.ขึ้นไป)
ระดับพายุเฮอร์ริเคนตามมาตรวัดของแซฟไฟร์-ซิมป์สัน
"Saffir-Simpson Hurricane Scale"
"Saffir-Simpson Hurricane Scale"
การจัดระดับเฮอร์ริเคนตามความรุนแรงของแรงลมที่ก่อให้เกิดพายุ
ซึ่งพัฒนาขึ้นในปี 1969 โดยเฮอร์เบิร์ตแซฟไฟร์ วิศวกรโยธา และบ็อบ ซิมป์สัน
ผู้อำนวยการศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติสหรัฐฯ โดยแบ่งเป็น 5ระดับด้วยกัน และระดับ 5
คือระดับสูงที่สุดทั้งนี้การจัดระดับดังกล่าวถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินความเสียหายและอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นจากพายุเฮอร์ริเคนเมื่อพัดขึ้นสู่ชายฝั่งโดยการจัดระดับนี้จะใช้กับเฮอร์ริเคนที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกและทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น
ระดับ 1 (Category 1)
- ความเร็วลม 74-95
ไมล์ต่อชั่วโมง(119-153 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ความสูงของคลื่น 1.2-1.5 เมตร
- ความกดอากาศ 980 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง เล็กน้อย
ไม่ส่งผลต่อสิ่งก่อสร้าง มีน้ำท่วมบ้างตามชายฝั่ง ท่าเรือเสียหายเล็กน้อย
ตัวอย่างของเฮอร์ริเคนระดับนี้ได้แก่ Hurricane Isabel ซึ่งขึ้นฝั่ง ใกล้ ๆ เกาะ Drum Inlet
นอกชายฝั่งรัฐ N.Carolina ปี 2003 และ Hurricane Georges ขึ้นฝั่ง Florida Key และ Mississippi และHurricane Bonnie ปี 1988
- ความสูงของคลื่น 1.2-1.5 เมตร
- ความกดอากาศ 980 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง เล็กน้อย
ไม่ส่งผลต่อสิ่งก่อสร้าง มีน้ำท่วมบ้างตามชายฝั่ง ท่าเรือเสียหายเล็กน้อย
ตัวอย่างของเฮอร์ริเคนระดับนี้ได้แก่ Hurricane Isabel ซึ่งขึ้นฝั่ง ใกล้ ๆ เกาะ Drum Inlet
นอกชายฝั่งรัฐ N.Carolina ปี 2003 และ Hurricane Georges ขึ้นฝั่ง Florida Key และ Mississippi และHurricane Bonnie ปี 1988
ระดับ 2 (Category
2)
- ความเร็วลม 96-110
ไมล์ต่อชั่วโมง (154-177 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ความสูงของคลื่น 1.8-2.4 เมตร
- ความกดอากาศ 965-979 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง น้อย
หลังคา ประตูหน้าต่างบ้านเรือนมีเสียหายบ้าง ก่อให้เกิดน้ำท่วมทำลายท่าเรือ
จนถึงอาจทำให้สมอเรือที่ไม่ได้ป้องกันไว้หลุดหรือขาดได้ ตัวอย่างของเฮอร์ริเคนระดับนี้ได้แก่ HurricaneIsabel ซึ่งขึ้นฝั่ง ใกล้ ๆ เกาะ Drum Inlet นอกชายฝั่งรัฐ N.Carolina ปี 2003 และ Hurricane Georgesขึ้นฝั่ง Florida Key และ Mississippi และ Hurricane Bonnie ปี 1988
- ความสูงของคลื่น 1.8-2.4 เมตร
- ความกดอากาศ 965-979 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง น้อย
หลังคา ประตูหน้าต่างบ้านเรือนมีเสียหายบ้าง ก่อให้เกิดน้ำท่วมทำลายท่าเรือ
จนถึงอาจทำให้สมอเรือที่ไม่ได้ป้องกันไว้หลุดหรือขาดได้ ตัวอย่างของเฮอร์ริเคนระดับนี้ได้แก่ HurricaneIsabel ซึ่งขึ้นฝั่ง ใกล้ ๆ เกาะ Drum Inlet นอกชายฝั่งรัฐ N.Carolina ปี 2003 และ Hurricane Georgesขึ้นฝั่ง Florida Key และ Mississippi และ Hurricane Bonnie ปี 1988
ระดับ 3 (Category 3)
- ความเร็วลม 111-130
ไมล์ต่อชั่วโมง (178-209 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ความสูงของคลื่น 2.7-3.7 เมตร
- ความกดอากาศ 945-964 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง ปานกลาง
ทำลายโครงสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็กได้บ้าง โทรศัพท์บ้านถูกตัดขาด
แผงป้องกันพายุตามบ้านเรือนได้รับความเสียหาย อาจเกิดน้ำท่วมขังเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน เช่น HurricaneJeanne,Hurricane Ivan ขึ้นฝั่ง Florida ปี 2004 (ฟลอริด้าปี 2004 นี้โชคร้ายมาก ๆ
เพราะโดนเฮอร์ริเคนกระหน่ำหนัก ๆ ถึง 5 ลูกในเวลาที่ติด ๆ กัน) และมี Hurricane Roxanne ขึ้นฝั่งที่Florida และ Alabama ปี1995 และยังมี Hurricane Fran ขึ้นฝั่งที่ Yucatan Penninsula ของเม็กซิโกในปี1996 และที่ N.Carolina
- ความสูงของคลื่น 2.7-3.7 เมตร
- ความกดอากาศ 945-964 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง ปานกลาง
ทำลายโครงสร้างที่อยู่อาศัยขนาดเล็กได้บ้าง โทรศัพท์บ้านถูกตัดขาด
แผงป้องกันพายุตามบ้านเรือนได้รับความเสียหาย อาจเกิดน้ำท่วมขังเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน เช่น HurricaneJeanne,Hurricane Ivan ขึ้นฝั่ง Florida ปี 2004 (ฟลอริด้าปี 2004 นี้โชคร้ายมาก ๆ
เพราะโดนเฮอร์ริเคนกระหน่ำหนัก ๆ ถึง 5 ลูกในเวลาที่ติด ๆ กัน) และมี Hurricane Roxanne ขึ้นฝั่งที่Florida และ Alabama ปี1995 และยังมี Hurricane Fran ขึ้นฝั่งที่ Yucatan Penninsula ของเม็กซิโกในปี1996 และที่ N.Carolina
ระดับ 4 (Category 4)
- ความเร็วลม 131-155
ไมล์ต่อชั่วโมง (210-249 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ความสูงของคลื่น 4.0-5.5 เมตร
- ความกดอากาศ 944-920 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง สูง
แผงป้องกันพายุเสียหายหนักยิ่งขึ้น หลังคาบ้านเรือนบางแห่งถูกทำลาย น้ำท่วมเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน เช่นHurricane Charley ขึ้นฝั่งที่ฟลอริด้า วันที่ 13 สิงหาคม 2004 และ Hurricane Dennisซึ่งกระหน่ำเกาะคิวบา และ Hurricane Andrew ขึ้นฝั่งที่ฟลอริด้าวันที่ 24 สิงหาคม 1992
สร้างความเสียหายมากที่สุดซึ่งความเสียหายมีมูลค่าถึง 26.5 Billions Dollars
- ความสูงของคลื่น 4.0-5.5 เมตร
- ความกดอากาศ 944-920 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง สูง
แผงป้องกันพายุเสียหายหนักยิ่งขึ้น หลังคาบ้านเรือนบางแห่งถูกทำลาย น้ำท่วมเข้ามาถึงพื้นดินส่วนใน เช่นHurricane Charley ขึ้นฝั่งที่ฟลอริด้า วันที่ 13 สิงหาคม 2004 และ Hurricane Dennisซึ่งกระหน่ำเกาะคิวบา และ Hurricane Andrew ขึ้นฝั่งที่ฟลอริด้าวันที่ 24 สิงหาคม 1992
สร้างความเสียหายมากที่สุดซึ่งความเสียหายมีมูลค่าถึง 26.5 Billions Dollars
ระดับ 5 (Category 5)
- ความเร็วมากว่า 155
ไมล์ต่อชั่วโมงขึ้นไป( 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- ความสูงของคลื่นไม่น้อยกว่า 5.5 เมตร
- ความกดอากาศ น้อยกว่า 920 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง สูง
หลังคาบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมถูกทำลาย ตึกรามบางแห่งอาจถูกพัดถล่ม
เกิดน้ำท่วมขังปริมาณมากถึงขั้นทำลายข้าวของในชั้นล่างของบ้านเรือนใกล้ชายฝั่ง
และอาจต้องมีการประกาศให้ประชาชนในพื้นที่ทำการอพยพโดยด่วน เช่น The Labor Day Hurricane ขึ้นฝั่งที่ฟลอริด้าปี 1935 และ Hurricane Camille ขึ้นฝั่งที่มิสซิสซิปปี้ปี 1969
- ความสูงของคลื่นไม่น้อยกว่า 5.5 เมตร
- ความกดอากาศ น้อยกว่า 920 มิลลิบาร์
- อานุภาพในการทำลายล้าง สูง
หลังคาบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมถูกทำลาย ตึกรามบางแห่งอาจถูกพัดถล่ม
เกิดน้ำท่วมขังปริมาณมากถึงขั้นทำลายข้าวของในชั้นล่างของบ้านเรือนใกล้ชายฝั่ง
และอาจต้องมีการประกาศให้ประชาชนในพื้นที่ทำการอพยพโดยด่วน เช่น The Labor Day Hurricane ขึ้นฝั่งที่ฟลอริด้าปี 1935 และ Hurricane Camille ขึ้นฝั่งที่มิสซิสซิปปี้ปี 1969
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากพายุเขตร้อนเหล่านี้ ได้แก่
- ลมพัดแรง (Violent Winds)
- คลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm Surges) เป็นอันตรายต่อเรือประมง
- คลื่นพายุซัดฝั่งและฝนที่ตกอย่างหนัก (Torrential Rain) อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้
- การพังทลายของพื้นที่ลาดเอียง ซึ่งอาจเกิดจากการกัดเซาะของพื้นที่ชายฝั่งทะเล
ทำลายเส้นทางคมนาคม เสาไฟฟ้าล้ม อาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร และก่อให้เกิดเพลิงไหม้ตามมาได้
ทำให้น้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคสกปรก
การเตรียมการและการป้องกัน
- ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
- สอบถามและแจ้งสภาวะอากาศผิดปกติ
- ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูง
- ปลูกสร้าง/ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เพื่อป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
- ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฝนฟ้าคะนอง
- ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ และอยู่กลางแจ้ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง
- เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ และวิทยุกระเป๋าหิ้วเพื่อติดตามข่าวสาร รวมทั้งมีการฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมความพร้อม และวางแผนการอพยพหากจำเป็น
การตั้งชื่อพายุ
เหตุผลในการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน ในปีหนึ่งๆ จะมีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นหลายลูก และหากมีพายุมากกว่า 1 ลูกเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันจะก่อให้เกิดความสับสน จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้รู้ว่าการเรียกพายุ โดยใช้ชื่อสั้นๆ ในการเขียนหรือพูดติดต่อสื่อสารจะช่วยให้รวดเร็วและลดข้อผิดพลาดได้มากกว่าวิธีการที่ต้องยุ่งยากกับการระบุละติจูด–ลองจิจูด ด้วยเหตุนี้จึงมีการตั้งชื่อพายุเพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และเพื่อลดความสับสนในการติดต่อสื่อสารระหว่างนักพยากรณ์อากาศกับสาธารณชน รวมทั้งเพื่อให้ง่ายต่อการเฝ้าระวังและเตือนภัย
เหตุผลในการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อน ในปีหนึ่งๆ จะมีพายุหมุนเขตร้อนเกิดขึ้นหลายลูก และหากมีพายุมากกว่า 1 ลูกเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันจะก่อให้เกิดความสับสน จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้รู้ว่าการเรียกพายุ โดยใช้ชื่อสั้นๆ ในการเขียนหรือพูดติดต่อสื่อสารจะช่วยให้รวดเร็วและลดข้อผิดพลาดได้มากกว่าวิธีการที่ต้องยุ่งยากกับการระบุละติจูด–ลองจิจูด ด้วยเหตุนี้จึงมีการตั้งชื่อพายุเพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และเพื่อลดความสับสนในการติดต่อสื่อสารระหว่างนักพยากรณ์อากาศกับสาธารณชน รวมทั้งเพื่อให้ง่ายต่อการเฝ้าระวังและเตือนภัย
วิธีการตั้งชื่อพายุ
1.
เมื่อมีพายุที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุมากกว่า 34 นอต หรือ 62
กม./ชม. พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ
2. ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ที่คอลัมน์ที่หนึ่งตัวบนสุดก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1. เป็นตัวแรกของปี พายุนั้นจะมีชื่อว่า "Damrey (ดอมเรย์)"
3. เมื่อมีพายุตัวต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1. พายุนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมาในคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุตัวที่สองจะมีชื่อว่า "Longwang (หลงหวาง)"
4. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "Trami (ทรามี)" จะใช้ชื่อ "Kongrey (กองเรย์)"
5. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ที่ 5 ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "Saola (เซลลา)" จะใช้ชื่อ "Damrey (ดอมเรย์)"
Credit : www.siamvolunteer.com
2. ชื่อของพายุจะเริ่มใช้ที่คอลัมน์ที่หนึ่งตัวบนสุดก่อน เช่น เมื่อมีพายุเกิดขึ้นมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1. เป็นตัวแรกของปี พายุนั้นจะมีชื่อว่า "Damrey (ดอมเรย์)"
3. เมื่อมีพายุตัวต่อไปเกิดขึ้นอีก และมีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางตามที่กำหนดในข้อ 1. พายุนั้นจะใช้ชื่อที่อยู่ถัดลงมาในคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุตัวที่สองจะมีชื่อว่า "Longwang (หลงหวาง)"
4. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ให้ใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่อยู่ถัดไป เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "Trami (ทรามี)" จะใช้ชื่อ "Kongrey (กองเรย์)"
5. เมื่อใช้จนหมดคอลัมน์ที่ 5 ให้กลับมาใช้ชื่อแรกของคอลัมน์ที่ 1 เช่น พายุที่เกิดหลังพายุ "Saola (เซลลา)" จะใช้ชื่อ "Damrey (ดอมเรย์)"
Credit : www.siamvolunteer.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น