1. Shanghai Maglev : เซี่ยงไฮ้แม็กเลฟ
Shanghai Maglev
สถานที่ : นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน วิ่งรับ-ส่งผู้โดยสารระหว่างสถานีหลงหยาง เขตพู่ตง กับท่าอากาศยานนานาชาติพู่ตง ในอนาคตมีแผนขยายเส้นทางไปยังท่าอากาศยานหงเฉียว เชื่อมต่อไปเมืองหังโจว
ระยะทาง : 19 ไมล์ (30 กิโลเมตร)
ความเร็วขณะวิ่งให้บริการ : 268 ไมล์ ต่อชั่วโมง หรือราว 431 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ความเร็วสูงสุด : 311 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
คุณสมบัติเด่น : "เซี่ยงไฮ้แม็กเลฟ" สร้างสถิติเป็น "รถไฟฟ้าแม่เหล็กความเร็วสูง" (แม็กเลฟ) ขบวนแรกของโลกที่วิ่งให้บริการเชิงพาณิชย์ด้วยความเร็วสูงสุด
ระบบการทำงานแตกต่างจากรถไฟรางทั่วโลก เพราะตัวรถทั้งขบวนจะถูกกลไกสนามแม่เหล็กยกให้ลอยสูงจากราง ประมาณ 1-10 มิลลิเมตรแล้วแต่จังหวะการวิ่ง จึงไม่มีล้อ ไม่มีเบรก ไม่มีเพลา ไม่มีระบบส่งกำลัง ผู้พัฒนาเรียกระบบนี้ว่า "ไกด์เวย์"
อย่างไรก็ตาม วิศวกรบางกลุ่มมองว่า ราคาการลงทุนวางโครงข่ายรถไฟแม็กเลฟสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเกินไป และยังไม่แน่ชัดว่าถ้าวิ่งระยะยาวแล้วจะมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่
2. Alta Velocidad Espanola (AVE) : รถไฟความเร็วสูงเอวีอี
Alta Velocidad Espanola (AVE)
สถานที่ : ประเทศสเปน วิ่งเชื่อมต่อเมืองใหญ่ 4 เมือง ประกอบด้วย มาดริด, เซบีญา, มาลาก้า และบาร์เซโลนา
ระยะทาง : 410 ไมล์ (660 กิโลเมตร)
ความเร็วขณะวิ่งให้บริการ : 210 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือราว 338 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ความเร็วสูงสุด : 227 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 365 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
คุณสมบัติเด่น : ในอดีตรางรถไฟสเปนจะมีขนาดความกว้าง 1,668 มิลลิเมตร แต่รถเอวีอี ใช้รางมาตรฐาน 1,435 มิลลิเมตร ซึ่งใช้โดยทั่วไปในทวีปยุโรป
นอกจากนั้น กลไกการทำงานหล่อเลี้ยงด้วยกระแสไฟฟ้า 25 กิโลวัตต์ (AC) เพื่อให้เข้ากับรถไฟของประเทศอื่นๆ ในยุโรปเช่นกัน แสดงถึงเป้าหมายที่ชัดเจนของสเปนที่ต้องการขยายเส้นทางเอวีอีไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมืองแปร์ปินญอง ประเทศฝรั่งเศส
วัตถุประสงค์เพื่อให้การเดินทางระหว่าง 4 เมืองใหญ่คล่องตัว และส่งผู้โดยสารกระจายต่อไปทั่วประเทศด้วยรถด่วนตามปกติอีกทอดหนึ่ง
3. Beijing-Tianjin Intercity Railway : รถไฟความเร็วสูงสายปักกิ่ง-เทียนสิน
Beijing-Tianjin Intercity Railway
สถานที่ : ประเทศจีน วิ่งระหว่างกรุงปักกิ่ง กับเมืองเทียนสิน
ระยะทาง : 71 ไมล์ (114 กิโลเมตร)
ความเร็วขณะวิ่งให้บริการ : 217 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือราว 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ความเร็วสูงสุด : 245 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 394 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
คุณสมบัติเด่น : เริ่มเปิดบริการเมื่อปี พ.ศ.2551 นี่เอง ตัวรางไม่มีบัลลาสต์ ส่วนโครงสร้างฐานรางรถไฟรองรับด้วยพื้นคอนกรีต ทำให้รางแข็งแรงมั่นคงยิ่งขึ้น ไม่ต้องคอยเสียเวลาซ่อมแซมบูรณะมากนัก
ในอดีตการโดยสารรถไฟจากปักกิ่งไปเทียนสิน ใช้เวลา 70 นาที แต่ด้วยรถไฟสายใหม่นี้ช่วยร่นเวลาลงมาเหลือ 30 นาที ภายหลังเปิดบริการปีแรก สามารถขนส่งผู้โดยสารได้กว่า 18.7 ล้านคน
4. Train a Grande Vitesse (TGV) : รถไฟความเร็วสูงเตเจเว (ทีจีวี)
Train a Grande Vitesse
สถานที่ : ประเทศฝรั่งเศส ชุมทางตั้งต้นเริ่มจากกรุงปารีสแล่นออกสู่สถานีใน 200 กว่าเมืองทั่วประเทศ เช่น นีซ ลียง อาวินยง และดิฌอง
ระยะทาง : 538 ไมล์ (865 กิโลเมตร)
ความเร็วขณะวิ่งให้บริการ : 217 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือราว 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ความเร็วสูงสุด : 356 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 572 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
คุณสมบัติเด่น : เริ่มเปิดวิ่งเป็นครั้งแรกระหว่างกรุงปารีส นครหลวงฝรั่งเศส กับเมืองลียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ต่อมาจึงขยายเส้นทางอย่างรวดเร็ว สร้างตำนานเป็นรถไฟความเร็วสูงที่ชาวโลกได้ยินชื่อคุ้นหูมากที่สุด และยังวิ่งข้ามไปยังชาติเพื่อนบ้าน เช่น วิ่งลอดอุโมงค์ใต้ทะเลไปอังกฤษ
ระบบไฟฟ้าสลับสับเปลี่ยนได้ 2 รูปแบบ ทั้งกระแสไฟมาตรฐานในยุโรป 25 กิโลวัตต์ (AC) และระบบไฟ 1.5 กิโลวัตต์ (DC) ของฝรั่งเศส ปัจจุบันครองตำแหน่งแชมป์รถไฟที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารตามตารางเวลาเร็วที่สุดในโลก 280 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
5. Nozomi Shinkansen : รถไฟความเร็วสูง "โนโซมิ ชินคันเซ็น"
Nozomi Shinkansen
สถานที่ : ประเทศญี่ปุ่น ให้บริการเส้นทางสายโทไกโด/ซันโย ชินคันเซ็น จากโตเกียวไปฮากาตะ
ระยะทาง : 664 ไมล์ (1,068 กิโลเมตร)
ความเร็วขณะวิ่งให้บริการ : 186 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือราว 299-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ความเร็วสูงสุด : 275 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 442 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
คุณสมบัติเด่น : "โนโซมิ" เป็นชื่อรุ่นรถไฟในเครือข่ายรถไฟความเร็วสูง (ชินคันเซ็น) ของญี่ปุ่น ซึ่งทำความเร็วสูงที่สุดในกลุ่ม
ความเร็วของ "โนโซมิ" แต่ละรุ่น หรือแต่ละซีรีส์ไม่เท่ากัน โดยบางรุ่นวิ่งได้ถึง 442 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ปัจจุบันการโดยสารโนโซมิจากกรุงโตเกียว ไปยังนครโอซากา ระยะทาง 515 กิโลเมตร ใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมงเศษ
จุดเด่นรถไฟไฮเทครุ่นนี้ คือ ออกแบบให้มีน้ำหนักเบา ติดตั้งกระจกโพลีคาร์บอเนตซึ่งแตกยาก-ทนทานต่อแรงกระแทกสูง และมีระบบ "แอร์สปริง" ใช้แรงอัดอากาศช่วยประคองสมดุลขบวนรถเวลาเข้าโค้ง
Credit : www.kapook.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น